Questions

Promote knowledge about public debt and debt to strengthen the knowledge understanding the people.

      ตราสารหนี้

      • พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) คืออะไร

        เป็นตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนด โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย นิติบุคคลกองทุนฯ ต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป ฯลฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการออกพันธบัตรนั้น ๆ เช่น รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก สบน. ก็จะออกพันธบัตรรัฐบาล โดยจำหน่ายให้แก่สถาบันการเงินเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก หากรัฐบาลมีนโยบายต้องการให้ประชาชนมีทางเลือกในการออม สบน. ก็จะออกเป็นพันธบัตรรัฐบาลโดยจำหน่ายให้แก่สถาบันการเงินเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก หากรัฐบาลมีนโยบายต้องการให้ประชาชนมีทางเลือกในการออม สบน. ก็จะออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์และผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย

      • 3.1 ทำไมการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังจึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ

        กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบคงที่ตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น

        3.2 ข้อดีของการเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) คืออะไร

        ไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ไม่ต้องคืนใบพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเงินต้นจะโอนเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยรัฐวิสาหกิจ (องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจ โดยมีรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นหรือร่วมกันถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเงินทุนไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ

        พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ มีทั้งชนิดที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย   กับชนิดที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย  ทั้งสองชนิดกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการจัดหาสถาบันผู้จัดจำหน่ายและประกันการจำหน่ายโดยวิธีการประมูล  สถาบันที่เข้าร่วมประมูลในอัตราค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุดจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรให้แก่ผู้ลงทุนทุกประเภท

        พันธบัตรรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด โดยปกติจะจ่ายปีละ 2 งวด เมื่อครบกำหนดอายุของพันธบัตร ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับคืนต้นเงินเท่ากับราคาตราพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย

      • 3.1 ทำไมการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังจึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ

            กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบคงที่ตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น

        3.2 ข้อดีของการเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) คืออะไร

        ไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ไม่ต้องคืนใบพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเงินต้นจะโอนเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์อัตโนมัติ

        3.3 สนใจซื้อพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ต้องทำอย่างไร

        ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

        3.4 ซื้อแล้วได้หลักฐานอะไรกลับไปบ้าง

        กรณีที่ซื้อผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ผู้ซื้อจะได้รับใบเสร็จหรือใบแสดงรายการ ที่พิมพ์จากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เพื่อเป็นหลักฐานในการชำระค่าซื้อพันธบัตรกรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารยืนยันการซื้อพันธบัตร

        3.5  ผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รายใหม่ จะได้หลักฐานอะไรกลับไปบ้าง

        สำหรับผู้ซื้อพันธบัตรรายใหม่ จะได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลัง (Bond Book) ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยจะได้รับในวันที่ซื้อหรืออาจได้รับภายหลังไม่เกิน 15 วันทำการ ซึ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มี Bond Book เมื่อมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นใหม่ สามารถนำ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลรายการซื้อให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อภายหลังจากวันที่ทำรายการซื้อแล้ว 15 วันทำการ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะนำไปใช้อ้างอิงสำหรับการทำธุรกรรมได้ รายการที่ปรากฏอยู่ใน Bond Book เป็นรายการซื้อที่แสดงมูลค่าตามราคาตรา (Par Value) ในวันที่จดทะเบียน และในวันที่ทำรายการจะแสดงมูลค่าตามราคาตลาด (Market Value) ของแต่ละธนาคาร โดยจะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคาร ทั้งนี้ จะปรากฏเฉพาะรุ่นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ที่ซื้อผ่านธนาคารเท่านั้น โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำ Bond Book ที่ได้รับตั้งแต่การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จนถึงพันธบัตรรุ่นปัจจุบันที่ซื้อ ไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อเท่านั้น สำหรับการจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน กระทรวงการคลังจะจ่ายคืนตามราคาตรา (Par Value)

        3.6 การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นจะต้องดำเนินการอย่างไร

        สำหรับการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่น ผู้มีสิทธิ์ซื้อ (เฉพาะบุคคลธรรมดา) สามารถทำรายการซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยจะได้รับใบยืนยันการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเพื่อนำไปให้ผู้รับมอบดำเนินการ ดังนี้

        1)  สำหรับผู้รับมอบที่เคยลงทะเบียนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มาก่อนแล้ว ให้ผู้รับมอบนำสมุดพันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลัง (Bond Book) มาปรับปรุงข้อมูลได้ที่เครื่องปรับสมุดอัตโนมัติของธนาคารกสิกรไทย หลังจากวันที่ที่ลงใน ใบยืนยันการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่น 15 วันทำการ เป็นต้นไป

        2)  สำหรับผู้รับมอบที่ยังไม่เคยลงทะเบียนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ผู้รับมอบนำใบยืนยันการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ให้แก่บุคคลอื่น พร้อมเอกสารแสดงตน ประกอบด้วย บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน หรือหนังสือ เดินทาง และ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้รับมอบ (ถ้ามี) มาลงทะเบียนเปิดบัญชีการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ และรับโอนพันธบัตรออมทรัพย์ได้ที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หลังจากวันที่ที่ลงในใบยืนยันการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่น เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งผู้รับมอบจะต้องแสดงตนเพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนวันจ่ายดอกเบี้ยในงวดนั้นๆ หรือก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร มิฉะนั้น ดอกเบี้ยในงวดนั้นๆ และ/หรือเงินต้นของพันธบัตรจะเป็นของผู้มอบ ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จะนำส่งสมุดพันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลัง (Bond Book) ของผู้รับมอบ ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ภายใน 15 วันทำการ หลังจากวันที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับเอกสารแสดงตนครบถ้วนจากผู้รับมอบ

        3.7 คณะบุคคลหรือกองทุนส่วนบุคคลสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้หรือไม่

        คณะบุคคลหรือกองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน ไม่สามารถซื้อได้ เนื่องจากไม่มีสถานภาพเป็นบุคคล (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะซื้อได้

        3.8 คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์หรือไม่

        ไม่ต้องให้ความยินยอม

        3.9 การโอนดอกเบี้ยและเงินต้นพันธบัตรเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

        ในการโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) เจ้าของบัญชีได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

        3.10 หากต้องการรับดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเงินสดและเช็คจะทำได้หรือไม่

        ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น

        3.11 หากต้องการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ บัญชีรับดอกเบี้ยและเงินต้น หรือข้อมูลอื่นๆ จะต้องทำอย่างไร

        กรณีเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)

        ติดต่อธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อ โดยนำ Bond Book และหลักฐานอื่นที่ต้องใช้ในการอ้างอิงไปด้วย

        กรณีมีใบตราสาร

        ให้แจ้งโดยตรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือธนาคาร สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการต่อไป

        3.12 การขอคืนภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ทำอย่างไร

        เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานขอคืนภาษีประจำปีได้ ในกรณีที่ฐานเงินได้ของท่านเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 15

        3.13 การขอหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) กับทางสาขาธนาคาร สาขาธนาคารสามารถดำเนินการออกให้ได้เลยหรือไม่ และคิดค่าธรรมเนียมอย่างไร

        ธนาคารสามารถออกหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) ให้ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมการจัดทำหนังสือรับรองยอดพันธบัตร ตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าง 50 - 200 บาท ต่อฉบับ (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย)

        3.14 ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนพันธบัตรจากแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)  ให้เป็นแบบมีใบตราสาร (Scrip) ทำได้หรือไม่ เสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ใช้เวลาดำเนินการประมาณกี่วัน ลูกค้าถึงจะได้รับใบพันธบัตร

        ทำได้ โดยต้องนำ Bond Book ไปติดต่อธนาคารเพื่อขอออกใบพันธบัตร โดยมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการรวมทั้งสิ้นประมาณ 290 บาท ต่อรายการ ประกอบด้วย

        1) ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับศูนย์รับฝาก 65 บาทต่อรายการ ไม่รวม VAT

        2) ค่าธรรมเนียมการออกใบพันธบัตรที่ต้องจ่ายให้ ธปท. กรณีบุคคลธรรมดา 20 บาทต่อฉบับ กรณีนิติบุคคล 100 บาทต่อฉบับ ไม่คิด VAT

        3) ค่าธรรมเนียมการดำเนินธุรกรรมในการถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless ที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร 200 บาทต่อรายการ รวม VAT ลูกค้าจะได้รับใบพันธบัตรประมาณ 4 – 10 วัน (ยังไม่รวมการจัดส่งใบพันธบัตร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร

        3.15 การโอนเปลี่ยนมือระหว่างธนาคารทำได้หรือไม่

        การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) สามารถกระทำได้ โดยอาจเป็นการโอนให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอน กรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำ Bond Book ไปติดต่อธนาคารที่ได้ฝากพันธบัตรไว้

        3.16 ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรรุ่นนี้มีอะไรบ้าง

        เนื่องจากเป็นพันธบัตรรัฐบาลจึงไม่มีความเสี่ยง แต่ผู้ลงทุนในพันธบัตรอาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือพันธบัตร จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตร ตลอดอายุพันธบัตร ในกรณีที่นำพันธบัตรไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เท่ากับ 1,000 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนถือพันธบัตร จนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนเงินต้นเต็มจำนวนเสมอ

        ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ website ต่างๆ ดังนี้

        https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities

        https://www.thaibma.or.th

        https://www.thaibond.com

        3.17 การไถ่ถอนคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดต้องดำเนินการอย่างไร

        กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตร โดยโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามรายชื่อและข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

        กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร การจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรจะกระทำได้ต่อเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร ดังนั้น ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะส่งแบบคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ เพื่อให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้นำเงินต้นเข้าบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) และลงลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนด รวมทั้งให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคืนใบพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทย

        กรณีจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในนามผู้เยาว์ ถ้าผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้ปกครองหรือผู้จัดการลงลายมือชื่อ ถ้าผู้เยาว์อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์ลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ปกครองหรือผู้จัดการ ถ้าผู้เยาว์อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องยื่นเรื่องแจ้งบรรลุนิติภาวะและทำตัวอย่างลายมือชื่อก่อน

      • เป็นตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมเงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ปกติจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนจะอยู่ในรูปของส่วนลด ซึ่งรัฐบาลกำหนดจะชำระคืนตามราคาที่ตราไว้เมื่อตั๋วเงินคลังครบกำหนดไถ่ถอนคืน ตั๋วเงินคลังจะทำการซื้อขายที่ราคาคิดลด ซึ่งหมายถึงเงินลงทุนครั้งแรกจะน้อยกว่าราคาหน้าตั๋ว และเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนจะได้รับเงินเต็มจำนวนตามที่ตราไว้หน้าตั๋ว

        ตั๋วเงินคลังเริ่มออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 มีอายุ 4 เดือน วงเงิน 50 ล้านบาท และมีการออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 ต่อจากนั้นรัฐบาลหยุดการออกตั๋วเงินคลัง  และเริ่มออกใหม่อีกครั้งโดยประมูลเมื่อวันที่ 27 กันยายน  2542 และออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

        ปัจจุบัน ตั๋วเงินคลังส่วนใหญ่มีอายุ 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน

      • เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ออกจำหน่ายในตลาดแรกด้วยวิธีการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาตรา

        ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เป็นการออกตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 เริ่มมีการประมูลครั้งแรกในเดือนมีนาคม  2544 และออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปี 2550

        ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ มีอายุที่กำหนดเป็นวัน ส่วนใหญ่มีอายุ 182 วัน

       

      เว็บไซต์ของเราจะจัดเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถเลือกที่จะยินยอมหรือไม่ยินยอมคุกกี้ของเราได้ ในกรณีที่ท่านไม่ทำการเลือกจะถือว่าท่านไม่ยินยอมการจัดเก็บคุกกี้ คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล